เค้าว่ากันว่า คนที่เริ่มแก่ จะเริ่ม “รื้อฟื้น” ความทรงจำเก่า ๆ เท่านั้นยังไม่พอ รื้อฟื้นแล้วก็ไม่อยากเก็บเอาไว้ในใจคนเดียว กลับอยากที่จะเอามาเล่าให้คนรอบข้าง ให้ลูกหลาน หรือแม้กระทั่งเพื่อนฝูงคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ได้เห็นภาพจำในอดีต นัยว่าพฤติกรรมดังกล่าว สามารถ “สร้างสุข” เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับชีวิตที่เดินทางมาแสนไกลได้
วันนี้ ผมก็เลยอยากจะทำหน้าที่ คนที่เดินทางผ่านมาครึ่งค่อนชีิวิต ค้นหาประวัติ ค้นหาปูมของสถาบันการศึกษาที่สร้างให้ผมได้มีวันนี้ สถาบันการศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์ที่สำคัญ รวมทั้งบุคคลที่สำคัญของชาติ
หลาย ๆ ครั้ง เวลามีวิกฤติการเกี่ยวกับคนใน “แวดวงสีกากี” สถาบันที่ชื่อว่า “โรงเรียนนายร้อยตำรวจ” หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกเป็นชื่อเล่นๆ จนติดปากว่า “โรงเรียนนายร้อยสามพราน” มักถูกลากออกมา “ขึงพืด” และถูกวิพากษ์โดย “ใครก็ไม่รู้” ที่อาจจะรู้จักสถาบันแห่งนี้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ครึ่งๆ กลาง ๆ บ้าง แต่ก็ทำหน้าที่ “อวดรู้” ทำให้ความเป็นสถาบัน ได้รับความเสียหาย …ครับ ตัวสถาบัน ตัวอาคาร หรือแม้แต่ตำหรับตำรา ครูบาอาจารย์ ล้วนปลูกฝังค่านิยม ในการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ที่ดี แต่การจะเป็นคนดี หรือคนชั่ว เมื่อจบการศึกษาออกไปนั้น คงแล้วแต่เวรแต่กรรม แล้วแต่การกระทำของตนมากกว่าที่จะไปโยนความผิดให้สถาบัน
เอาหล่ะครับ วันนี้ผมไม่ได้มาทำหน้าที่เป็น “คนแก่” ที่จะแค่ขุดคุ้ยประวัติสถาบันมาเล่าเพียงเพื่อให้ “มันปาก” ไปวัน ๆ แต่ผมกำลังทำสิ่งที่เรียกว่า “การค้นหาร่องรอยเพื่อปลุกเร้าอุดมการณ์”….ผมเชื่อครับว่า การที่เรารู้จักปูมประวัติของเราเอง การที่เราซึมซับที่มาที่ไปของสถาบันที่สร้างพวกเรามา จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปลุกเร้าอุดมการณ์ของการเป็น “ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์” ….ผมก็เลยเอาบทความที่เขียนโดยท่าน พล.ต.จ.มงคล จีระเศรษฐ…ผมเขียนไม่ผิดหรอกครับ พล.ต.จ. อ่านว่าพลตำรวจจัตวา ซึ่งปัจจุบันก็คือ พันตำรวจเอกพิเศษนั่นแหละครับ …ท่านได้เขียนไว้ในวารสารตำรวจ ฉบับวันตำรวจ ปี พ.ศ.2499 ซึ่งเป็นปีที่กรมตำรวจมีอธิบดีกรมตำรวจที่ชื่อ “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์”
บทความที่ผมเอามาลง เป็นแค่บางส่วนของบทความที่ชื่อ “โรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งประเทศไทย” ซึ่งมีความยาวหลายสิบหน้า แล้วไง ผมจะขวนขวายเอามาลงให้อ่านกันเพ่ิมเติมในโอกาสต่อไปนะครับ สำหรับวันนี้ขอเชิญท่านที่เป็นตำรวจ ไม่ใช่ตำรวจ จะเกลียดตำรวจ จะรักตำรวจ ก็ขอเชิญหาความสำเริงสำราญกับบทความที่ผมตัดลอกมานำเสนอในวันนี้ เผื่อว่า….พวกเราจะได้มีความเข้าใจในความเป็นมาเป็นไปของ “ตำรวจไทย” มากขึ้น…เรียนเชิญขอรับ
เอาหล่ะครับ..วันนี้คงพอหอมปากหอมคอแค่นี้ก่อน แต่ก่อนจากกัน ผมอยากฝากเพลงให้ฟังซะหน่อยครับ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของปูมประวัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ก็คงจะเป็นเพลงอื่นไปไม่ได้หรอกครับ นอกจากเพลง “สามพราน” เพลงนี้ เป็นเสมือนเพลงสัญญลักษณ์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประพันธ์ทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ ครูเอื้อ สุนทรสนาน และประพันธ์คำร้องโดยครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ซึ่งในเวอร์ชั่นที่ผมจะนำมาเสนอให้ฟังกันนี้ สมัยผมเป็นผู้กำกับอยู่ที่ฝ่ายดนตรี กองสวัสดิการ (ดุริยางค์ตำรวจ) ผมได้ให้ลูกน้องเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นมาใหม่ และนำออกบันทึกเทปในรายการดนตรีกวีศิลป์ เนื่องในวันตำรวจ ประจำปี 2552 …ในคลิปด้านล่างนี้ผมจะมีแถมให้อีกเพลงครับ ชื่อเพลง “มีแต่เราเฝ้าถนน” ประพันธ์คำร้องโดยอดีตอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา…แต่หากมีบทสัมภาษณ์กระผมติดไปบ้าง ก็ทน ๆ ดูกันหน่อยแล้วกันนะครับ บังเอิญเป็นคลิปที่ติดมาทั้งพวง จากรายการดนตรี กวี ศิลป์ ทางสถานี Thai PBS เค้าหน่ะครับ…อิอิ
ดีวะ มีสาระดี
ทำให้รู้ว่ากูแก่จริง
ไม่ใช่ข่าวลือ
บรรยายได้ลื่นไหล
ได้นึกถึงบรรยากาศเก่า
เอาอีกๆ
GREAT
ชอบมาก มีเวลานำสาระดีๆมานำเสนออีกนะคับ