โปลิศ ไอโอ 101 ตอนที่ 3 : ว่าด้วยภาพและคลิป

2014-07-0144803
ในบรรดาของที่เอามาปล่อยไปโอ ภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เนื่องจากหากพิจารณาในมุมของผู้รับสารแล้ว มันเป็นเรื่องง่ายที่จะรับ และหากพิจารณาในมุมของผู้ส่งสาร มันก็เป็นเรื่องง่ายที่จะส่งเช่นกัน แต่ความง่ายมันไม่ได้อยู่ที่การรับ หรือการส่ง แต่มันอยู่ที่ภาพและการตีความภาพต่างหาก ซึ่งตรงนี้แหละ ที่ถือเป็นเรื่องยาก

10352954_777860545625337_8840969108098341363_n

การทำไอโอ สำหรับตำรวจด้วยการส่งภาพจึงถือเป็นหัวใจสำคัญในภาคปฏิบัติ ที่จะต้องทำความเข้าใจกันพอสมควร มิเช่นนั้นแล้ว ภาพที่ส่งจะถูกตีความผิด แทนที่จะเป็นคุณกับคนส่ง กลับกลายเป็นส่ิงที่จะมาทิ่มแทงคนส่งเสียเอง ซึ่งผมมีหลักการง่าย ๆ แบบคิดเอาเอง บวกประสบการณ์ที่ไปแอบฟังเค้าพูดกันมาบ้าง รวมทั้งประสบการณ์ที่เกิดจากการทำงาน ผิดบ้างถูกบ้าง เอามาประมวลให้เพื่อนพ้องน้องพี่ได้พิจารณา หากเป็นประโยชน์ ก็ลองเอาไปใช้กันดูครับ

  1. ถ่ายรูปตำรวจ ต้องให้รู้ว่าเป็นตำรวจ  ….แน่นอนครับ ก็กำลังจะสร้างภาพบวกให้ตำรวจ แล้วไม่รู้ว่าเป็นตำรวจ แล้วจะไปถ่ายทำไมครับ การบ่งบอกความเป็นตำรวจ บางสถานการณ์ไม่จำเป็นต้องบอกด้วยเครื่องแบบเสมอไป บางครั้งบอกด้วยเสื้อของหน่วย แล้วมีข้อความแสดงสัญลักษณ์ความเป็นตำรวจก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ
    ได้
                       ใช้การได้ รู้ว่าเป็นตำรวจ
    ไม่ได้
                       ใช้การไม่ได้ เป็นใครก็ไม่รู้

     

  2. ถ่ายรูปหน่วยไหน ต้องให้รู้ว่าเป็นหน่วยไหน….การบอกด้วยเครื่องแบบของหน่วยที่ชัดเจนก็ดี เช่นตำรวจตชด. มีเครื่องแบบชัดเจนว่าเป็นตชด. ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ ก็มีเครื่องแบบชัดเจน แต่ถ้าเป็นหน่วยที่เป็นเครื่องแบบทั่วไป การถ่ายรูปที่เห็นป้าย หรือเครื่องหมายหน่วย ถ้าเป็นไปได้ก็จะเป็นเรื่องดีครับ ดังนั้น การจัดองค์ประกอบของภาพให้เห็นป้ายชื่อหน่วย หรือสัญลักษณ์ของหน่วย จึงเป็นสิ่งที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะหากไม่มีปรากฏว่าเป็นหน่วยไหนแล้ว ก็ถือว่าภาพนั้นหากปล่อยออกไปก็จะ “เสียของ” แต่หากรูปถ่ายที่เป็นในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ถือว่าไม่ต้องเห็นชื่อหน่วยก็ได้ครับ แค่รู้ว่าเป็นรูปของตำรวจ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
    ได้
              ใช้การได้ รู้สังกัดชัดเจน

    ไม่ได้
                  รู้ว่าเป็นตำรวจ แต่สังกัดไหนไม่รู้
  3. ถ่ายรูปอย่าตั้งใจ ต้องให้เห็นเป็นธรรมชาติ…..ถ่ายรูปเพื่อไอโอ โปรดอย่าตั้งใจครับ ให้ทำเสมือนมีคนมาแอบถ่ายตอนเผลอ เพราะถ้าตั้งใจมันจะเป็นการ “สร้างภาพ” เสียมากกว่า ซึ่งทำให้ไม่เกิดความน่าเชื่อถือ
    ได้
              ภาพแอบถ่าย

    ไม่ได้
                             ภาพแบบตั้งใจถ่าย
  4. ถ่ายรูปต้องให้เห็นสภาพแวดล้อมของรูป…อันนี้ การจัดองค์ประกอบของภาพ เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งครับ เช่นถ้าถ่ายรูปผู้บังคับบัญชาตำรวจ กำลังยืนพูดอยู่บนเวที โดยไม่เห็นเลยว่ากำลังพูดอยู่กับใคร พูดในงานอะไร มีคนฟังมากน้อยแค่ไหน เป็นบ้ารึเปล่ายืนพูดอยู่คนเดียว ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับการไอโอด้วยภาพ เพราะฉะนั้น การเห็นสภาพแวดล้อม ประกอบกับจุดที่จะโฟกัส ถือเป็นเรื่องสำคัญของช่างภาพไอโอเช่นกัน
    ได้
             มีองค์ประกอบสภาพแวดล้อมภาพชัดเจน

    ไม่ได้
                สภาพแวดล้อมคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน
  5. ถ่ายรูปเด็ก คนชรา อย่ายืนค้ำหัว….เรื่องนี้ถือเป็นการสร้างอารมณ์ และความรู้สึกของภาพ ที่ต้องการให้ภาพที่ออกมาดูอบอุ่น เป็นมิตร ดีงาม….ฯลฯ ถ่ายรูปคู่กับเด็ก แทนที่จะยืนค้ำหัวเด็ก ลดตัวนั่งยอง ๆ ให้เสมอกับเด็กนิดนึง ลูบหัวจับไหล่ยิ้มแย้มแจ่มใส เราก็จะได้ภาพพจน์คุณลุงตำรวจใจดี ถ่ายรูปคู่กับคนชรา หากยืนค้ำหัวคนแก่ ก็จะกลายเป็นไม่ให้ความเคารพ ซึ่งดูจะขัดสายตากับคนไทย เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะอยู่ในมุมที่ “ต่ำกว่า” คนชรานั้น เป็นต้น
    ได้
                         ใช้การได้ นั่งเสมอคนแก่

    ไม่ได้
                    ใช้การไม่ได้ ยืนค้ำหัวคนแก่

สำหรับการถ่ายคลิปวิดีโอหลักการก็จะคล้าย ๆ กับการถ่ายรูปทั่วๆไป แต่มีสิ่งที่จะเพิ่มเติมอีกสองสามเรื่องครับ ได้แก่

  1. อย่าตัดต่อคลิปแบบมืออาชีพ ให้เอาแบบดิบ ๆ บ้าน ๆ มันดูจะเป็น “พวกเดียว” กับคนดูมากกว่า
  2. อย่ายาว อย่าเยอะ เพราะจะเสียเวลาการดาวน์โหลด แล้วยิ่งคนสมัยนี้ ใช้อุปกรณ์พกพาในการดูคลิปด้วยแล้ว การใช้เวลาดาวน์โหลดเยอะ มันหมายถึงการที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายตามมาด้วย ทางที่ดี คลิปสั้น ๆ สักไม่เกิน 1 นาที หรือ 1 นาทีครึ่ง ก็ถือว่าเยอะเอาการแล้วครับ

แล้วนี่ก็เป็นเรื่องสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน สำหรับการใช้รูป ใช้คลิป เพื่อทำไอโอสำหรับงานตำรวจ…ครับพ้ม

 

ใส่ความเห็น