IO in Crisis

วันจันทร์ 18 ธันวาคม 2560 ….วันแรกของการทำงาน หลังจากหยุดพักงานมากว่า 2 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลที่ต้องพักรักษาตัวเอง หลังจากเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” โรคสมัยนิยม ของคนวัย “เก๋า” (แปลว่ายังไม่ยอมรับความจริงว่า “แก่” 555) นับเป็นการผ่าตัดที่เดียวกัน แผลเดียวกัน ในรอบสองปี ผู้คนรอบตัวมักจะตั้งคำถามยาก ๆ ว่า ผมเป็นโรคนี้ด้วยเหตุอะไร….เอ้า ถ้าผมรู้ว่ามันเหตุอะไร ผมคงหาทางป้องกันไม่ให้มันเป็นแล้วลุงงงงงง 555 … ถึงวันนี้มันก็ยังหาคำตอบไม่ได้อยู่ดี แต่ก็นับว่าผมสามารถใช้สวัสดิการของรัฐ ที่เค้ามอบให้กับคนเป็นข้าราชการอย่างเราได้คุ้มค่า เพราะในระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา ผมสามารถเข้าห้องผ่าต้ดใหญ่ ด้วยโรคที่คล้ายคลึงกันได้ถึงสี่ครั้ง เริ่มต้นด้วย เอ็นหัวไหล่ด้านซ้ายขาด ปีต่อมา เอ็นหัวไหล่ด้านขวาขาด ปีต่อมาผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง ยึดไททาเนียมไว้ที่กระดูก 3 ข้อ และล่าสุด ไอ้ที่ผ่าตัดเมื่อครั้งที่แล้ว ยังพบจุดที่ยังไม่เรียบร้อย เลยต้องผ่าซ่อม….สรุป มันเป็นเวรเป็นกรรมครับพ้มมมม

เอาหล่ะครับ เริ่มมาเข้าเรื่อง ด้วยว่าในระหว่างหยุดซ่อมแซมร่างกายหลังผ่าตัด ผมได้รับคำร้องขอ แกมสั่ง แกมบังคับ จากพี่ชายสุดที่รัก พล.ต.ต.สรกฤษณ์​ แก้วผลึก รองผู้บัญชาการศึกษา หรือพี่กุ๊ก ในฐานะลูกพี่ใหญ่ ในวิชา  RPM (Role of Police in Crisis Management) ที่ผมร่วมเป็นคณะอาจารย์ ของวิทยาลัยตำรวจ มาหลายปีดีดัก ให้มาร่วมแก๊ง มาพูดคุยกับพี่น้องกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผมถือว่าเป็นพี่น้องร่วมอาชีพกับพวกเรา นั่นก็คือพวกเราต่างทำหน้าที่หน่วยบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) เหมือนกัน ดังนั้น ภารกิจของเราก็ดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก และการมาพูดคุยกับพี่น้อง DSI ในครั้งนี้ ก็ประมาณว่าเป็นการคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อร่วมกันพัฒนางานของพวกเราให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

เรามาเริ่มภาพรวมการทำงานของตำรวจ ในวิชา RPM หรือ Role of Policein Crisis management) หรือวิชาการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ ในบทบาทตำรวจกันก่อนแล้วกันนะครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมของทุกอนู ว่าเรากำลังจะเตรียมการณ์เพื่อจะทำอะไร  ในวิชา RPM เป็นวิชาที่ว่าด้วย เมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติเกิดขึ้น ในฐานะผู้บริหารหน่วย ท่านจะต้องทำอย่างไร ซึ่งในสถานการณ์จริงในอดีตที่ผ่านมา หากทำงานกันแบบลูกทุ่ง การควบคุม สั่งการ บริหารเหตุการ์ ก็จะทำกันแบบที่ทุกฝ่าย โหมกันลงไปในพื้นที่เกิดเหตุ แล้วสั่งกันแบบโหวกเหวก โวยวาย เหมือนแม่ค้าขายหวยรางวัลที่หนึ่ง ในตลาด สั่งกันแบบคนสั่งใช้จินตนาการ ความรู้ ประสบการณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ถ้าโชคดี สถานการณ์ก็อาจจะคลี่คลายไปในทางที่เป็นคุณกับเรา แต่ถ้าโชคร้ายหล่ะครับ ทั้งความซวย ความรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งอาจรวมไปถึงความรับผิดทางอาญา ติดคุกติดตาราง ก็จะตามมาด้วย ซึ่งมีหนังตัวอย่างให้เห็นมามากมายแล้ว โดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ มานี้ ช่วงที่สยามประเทศ ก่อนปฏิวัติ ยังมีการแข่งขันกีฬาสีกันอยู่

พัฒนาการในวิชา RPM ของบ้านเราก็เริ่มจะเห็นเป็นรูปเป็นร่าง แม้จะก่อร่างสร้างตัวมาก่อนหน้านั้นสักระยะหนึ่ง แต่พอเริ่มเผชิญกับสถานการ์จริง การเรียนรู้แบบ Learning By Doing รวมทั้งการได้รับการอบรมจากหน่วยงานจากต่างประเทศ ของกลุ่มวิทยากรในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้การบริหารเหตุการณ์วิกฤติ ตามหลักการของ RPM เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น

แล้ววันนี้ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่ง ที่ผมและพี่น้องจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในวิชานี้ให้เกิดประโยชน์กับส่วนร่วม ก็เลยถือโอกาส เอาบางส่วนของสไลด์ประกอบการสนทนา มาแปะไว้ที่นี่ เผื่อว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย นะขอร้าบบบบบ !

ใส่ความเห็น